ประวัติความเป็นมาของอาเซียน
The history of ASEAN
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย
และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี
ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จน กระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม
กิตติขจร โดยมีการลงนาม
"ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่ง ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่
ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้
ความ ประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภาย นอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้าง ประเทศ)
ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความ ศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ
2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม
1. ลาว
นับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณหุบเขาอันมีสายน้ำสำคัญสามสาย คือ น้ำโขง น้ำคาน และน้ำอู แห่งนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาเก่าก่อน มีการขุดพบกลองมโหระทึกหรือกลองกบในบริเวณริมน้ำดงทางใต้ของเมือง อันแสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งค้นพบในแถบเวียดนามเหนือ
ลาวเป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวประกอบด้วยชมกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงบนที่ราบ ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 – 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไตได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท- กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีน แรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน ต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆ ทั้งไท พม่า และเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านแปงเมืองก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร
ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาก โดยมีความสืบเนื่องและคาบเกี่ยวระหว่างอาณาจักรโบราณหลายแห่ง เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ เขมร ฯลฯ โดยเริ่มมีความชัดเจนในอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือ กระทั่งเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 แล้วความรุ่งเรืองได้ปรากฏขึ้นในอาณาจักรทางใต้ ณ กรุงศรีอยุธยา โดยยังมีอาณาเขตที่ไม่แน่ชัด ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินจึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
ภายหลังสิ้นสุดอำนาจและมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 อาณาจักรสยามเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้าง ครั้นในรัชกาลที่ 5 ได้ผนวกดินแดนของเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนาส่วนล่าง (ส่วนบนอยู่บริเวณเชียงตุง) เป็นการรวบรวมดินแดนครั้งใหญ่ครั้งสุดท้าย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ก็ต้องรออีกถึง 41 ปี กว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549
ชื่อประเทศไทย
คำว่า ไทย มีความหมายในภาษาไทยว่า อิสระ เสรีภาพ เดิมประเทศไทยใช้ชื่อ สยาม แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2482 ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า "ไทย" โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อภาษาฝรั่งเศส[1]และอังกฤษคงยังเป็น "Siam" อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น "Thaïlande" และภาษาอังกฤษเป็น "Thailand" อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
คำว่า ไทย มีความหมายในภาษาไทยว่า อิสระ เสรีภาพ เดิมประเทศไทยใช้ชื่อ สยาม แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2482 ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า "ไทย" โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อภาษาฝรั่งเศส[1]และอังกฤษคงยังเป็น "Siam" อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น "Thaïlande" และภาษาอังกฤษเป็น "Thailand" อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
3. สิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในศตวรรษที่ 3 ของชาวจีนในชื่อ ‘พู เลา ชุง’ ซึ่งแปลว่า ‘เกาะปลายคาบสมุทร’ โดยในช่วงนั้นยังไม่มีใครทราบประวัติของเกาะแห่งนี้มากนัก ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยและรู้จักกันในชื่อ ‘เทมาเซ็ค’ ซึ่งแปลว่า ‘เมืองแห่งทะเล’ สิงคโปร์ตั้งอยู่ตรงปลายแหลมมลายูซึ่งเป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติของเส้นทางเดินเรือ สิงคโปร์จึงกลายเป็นจุดพักของเรือเดินสมุทรหลายประเภท ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ก็ได้ชื่อใหม่คือ ‘สิงหปุระ’ ซึ่งแปลว่า ‘เมืองสิงโต’ ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายแห่งศรีวิชัยมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่งแต่เข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต ชื่อปัจจุบันของสิงคโปร์จึงถือกำเนิดขึ้น ระหว่างศตวรรษที่ 18 นั้น ‘อังกฤษ’ เล็งเห็นถึงความสำคัญของสิงคโปร์ทางยุทธศาสตร์สำหรับซ่อม,เติมเสบียงและคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบใหญ่ของตนรวมถึงการขัดขวางการรุกคืบของชาวฮอลแลนด์ในภูมิภาคนี้ ตรงกันข้ามกับเบื้องหลังทางการเมืองที่กล่าวมา ‘เซอร์สแตมฟอร์ด แรฟเฟิล’ กลับตั้งสิงคโปร์ให้เป็นสถานีการค้า นโยบายการค้าเสรีดึงดูดพ่อค้าจากทั่วทุกส่วนของเอเชียและจากที่ห่างไกลออกไป เช่น สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง ในปี ค.ศ.1824 เพียงแค่ห้าปีหลังจากตั้งประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน ประชากรก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 150 คนจนกลายเป็น 10,000 คน ในปี 1832 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถิ่นฐานช่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดคลองซุเอซในปี 1869 และการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก สิงคโปร์เคยเป็นที่ทำสงครามในศตวรรษที่ 14 เมื่อเข้าเกี่ยวพันกับการแย่งชิงแหลมมลายูระหว่างประเทศสยามกับจักรวรรดิมัชปาหิตบนเกาะชวา อีกห้าศตวรรษถัดมา ที่นี่ก็เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้นอีกครั้ง ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเคยถือกันว่าสิงคโปร์เป็นป้อมปราการที่ไม่มีวันแตกแต่แล้วกองทัพญี่ปุ่นก็สามารถยึดครองเกาะแห่งนี้ได้ในปี 1942 หลังสงคราม สิงคโปร์ก็กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ การเติบโตของลัทธิชาตินิยมทำให้สิงคโปร์มีรัฐบาลปกครองตนเองในปี 1959 แล้ววันที่ 9 สิงหาคม 1965 สิงคโปร์ก็กลายเป็นสาธารณรัฐอิสระ
4. บรูไน
บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
5. เวียดนาม
ยุคก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก
ยุคที่อยู่ใต้อิทธิพลของจีน (ก่อน ค.ศ. 111- ค.ศ 938) ช่วงนี้ราชวงศ์ฮั่นบุกอาณาจักนามเวียดและผนวกเอาเป็นส่วนหนึ่งของจีน ช่วงนี้เวียดนามอยู่ใต้อิทธิพลของจีนนานถึง 1000 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ได้อิทธิพลและรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากจีน
ยุคที่อยู่ใต้อิทธิพลของจีน (ก่อน ค.ศ. 111- ค.ศ 938) ช่วงนี้ราชวงศ์ฮั่นบุกอาณาจักนามเวียดและผนวกเอาเป็นส่วนหนึ่งของจีน ช่วงนี้เวียดนามอยู่ใต้อิทธิพลของจีนนานถึง 1000 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ได้อิทธิพลและรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากจีน
· อาณาจักรแรกของชาวเวียดนาม คืออาณาจักร นามเวียด (อาณาจักรทางตอนเหนือ) เป็นเป็นเมืองขึ้นของจีนมานาน ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่เดี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ แม้ต่อมาอาณาจักรนามเวียดจะเป็นอิสระแต่ก็ยังคงส่งเครื่องบรรณาการส่งให้จีน (จีนถือว่านามเวียดเป็นเมืองประเทศราช)
· ทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศเวียดนามในอดีตเป็นที่ตั้งของอาราจักรจามปา(พวกจาม ซึ่งปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม)
ช่วงที่เป็นเอกราชจากจีน (ค.ศ. 938-1009) ช่วงนี้เป็นช่วงต้นราชวงศ์ถังซึ่งภายในจีนมีความวุ่นวายภายในเวียดนามก็สถาปนาราชวงศ์เล(Le Dynasty)
ช่วงยุคทองของประวัติศาสตร์เวียดนาม (ค.ศ. 1010 -1527)
เมื่ออาณาจักรนามเวียดทางตอนเหนือสามารถยึดพวกจามได้ทำให้อาณาจักรกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์เล เป็นช่วงที่มีการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างสำคัญมากมายมีการส่งเสริมพุทธศาสนากับลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋าด้วยและได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ กรุงฮานอย
ยุคแห่งการแบ่งแยก (ค.ศ. 1528-1802)
อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เหนือ-ใต้ เมื่อราชวงส์เลเสื่อมอำนาจทำให้อาณาจักแบ่งออกเป็นสามส่วน
ช่วงยุคทองของประวัติศาสตร์เวียดนาม (ค.ศ. 1010 -1527)
เมื่ออาณาจักรนามเวียดทางตอนเหนือสามารถยึดพวกจามได้ทำให้อาณาจักรกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์เล เป็นช่วงที่มีการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างสำคัญมากมายมีการส่งเสริมพุทธศาสนากับลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋าด้วยและได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ กรุงฮานอย
ยุคแห่งการแบ่งแยก (ค.ศ. 1528-1802)
อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เหนือ-ใต้ เมื่อราชวงส์เลเสื่อมอำนาจทำให้อาณาจักแบ่งออกเป็นสามส่วน
· ตอนเหนือ – แคว้นตังเกี่ย – ศูนย์กลางที่กรุงฮานอย – มีตระกูลแม็ค ปกครอง
· ตอนกลาง – แคว้นอันนัม – ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเตย์โด – มีตระกูลตรินห์ ปกครอง
· ตอนใต้ – แคว้นโคชินไชนา – มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเว้ – มีตระกูล เหงียน ปกครอง
ต่อมาตระกูลตรินห์ยึดแคว้นตั๋งเกี๋ยได้ ซึ่งทำให้เหลือ 2 แคว้น ต่อมาเจ้าชายเหงียนอันห์ แห่งราชวงศ์เหงียนทำการรวมประเทศ เป็นประเทศเวียดนาม (ค.ศ.1802 จึงเรียกชื่อประเทศว่าเวียดนาม)โดยความช่วยเหลือจากไทย(สมัย ร.1) และฝรั่งเศส และสถาปนาราชวงศ์ยาลอง เป็นจักรพรรดิยาลอง
จักรพรรดิยาลอง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝรั่งเศสมาก และฝรั่งเศสได้เข้ามาช่วยเหลือในการรวมประเทศผลสุดท้ายฝรั่งเศสก็เข้ามาแทรกแซงภายในประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จน ต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
ราชวงศ์เหงียน(เหวียน) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม นับตั้งแต่กษัตริย์ยาลองจนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายคือเบ๋าได่(Bao Dai) รวม 143 ปี (ปี ค.ศ. 1945 เป็นปีที่สิ้นสุดระบบกษัตริย์ของเวียดนาม)
เวียดนามแต่เดิมมีการปกครองแบบราชาธิปไตย(มีกษัตริย์) แบบรวมอำนาจการปกครอง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมาไม่ต่ำกว่า 4000 ปี เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน มากว่า 1000 ปี มีการดิ้นรนต่อสู้ให้พ้นจากการยึดครองของจีนตลอดมา
ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในเวียดนามในช่วง ศตวรรษที่ 1600 โดยเข้ามาทำการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส และชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexandre de Rhodes ได้เข้ามาพัฒนาภาษาเวียดนามที่เดิมใช้ตัวอักษรจีน มาใช้ตัวอักษรโรมันแทน (โดยพัฒนาต่อจากมิชชั่นนารีชาวโปรตุเกสที่เริ่มไว้ก่อหน้า) และในสมัยราชวงศ์เหงียนจึงมีข้อขัดแย้งกันทางศาสนาซึ่งเดิมชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ ขงจื้อ ในช่วงปี ค.ศ. 1859-1867 ฝรั่งเศสได้เริ่มยึดครองเวียดนาม
ในสมัยราชวงศ์เหงียน เวียดนามถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2427 ทำให้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ภาคเหนือเป็นแคว้นตังเกี๋ย ภาคกลางเป็นแคว้นอันนัม และภาคใต้เป็นแคว้นโคชินไชนา (โคชินจีน) และถูกรวมเข้ากับเขมร และลาว เรียกว่าสหพันธ์อินโดจีน (Indochinese Federation) ในปี 1893
ในช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสได้พัฒนา หลายสิ่ง ทั้งด้าน การศึกษา การเกษตร ระบบเมือง ระบบถนน การสาธารณสุข มีการส่งสินค้าการเกษตรมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับฝรั่งเศส
ในช่วงที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ก็ได้เริ่มมีบางกลุ่มที่เริ่มต่อต้าน และต้องการปกครองของฝรั่งเศส นั้นก็คือกลุ่มของโฮจิมินห์ (กลุ่มเวียดมินห์ Viet Minh)
จักรพรรดิยาลอง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝรั่งเศสมาก และฝรั่งเศสได้เข้ามาช่วยเหลือในการรวมประเทศผลสุดท้ายฝรั่งเศสก็เข้ามาแทรกแซงภายในประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จน ต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
ราชวงศ์เหงียน(เหวียน) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม นับตั้งแต่กษัตริย์ยาลองจนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายคือเบ๋าได่(Bao Dai) รวม 143 ปี (ปี ค.ศ. 1945 เป็นปีที่สิ้นสุดระบบกษัตริย์ของเวียดนาม)
เวียดนามแต่เดิมมีการปกครองแบบราชาธิปไตย(มีกษัตริย์) แบบรวมอำนาจการปกครอง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมาไม่ต่ำกว่า 4000 ปี เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน มากว่า 1000 ปี มีการดิ้นรนต่อสู้ให้พ้นจากการยึดครองของจีนตลอดมา
ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในเวียดนามในช่วง ศตวรรษที่ 1600 โดยเข้ามาทำการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส และชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexandre de Rhodes ได้เข้ามาพัฒนาภาษาเวียดนามที่เดิมใช้ตัวอักษรจีน มาใช้ตัวอักษรโรมันแทน (โดยพัฒนาต่อจากมิชชั่นนารีชาวโปรตุเกสที่เริ่มไว้ก่อหน้า) และในสมัยราชวงศ์เหงียนจึงมีข้อขัดแย้งกันทางศาสนาซึ่งเดิมชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ ขงจื้อ ในช่วงปี ค.ศ. 1859-1867 ฝรั่งเศสได้เริ่มยึดครองเวียดนาม
ในสมัยราชวงศ์เหงียน เวียดนามถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2427 ทำให้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ภาคเหนือเป็นแคว้นตังเกี๋ย ภาคกลางเป็นแคว้นอันนัม และภาคใต้เป็นแคว้นโคชินไชนา (โคชินจีน) และถูกรวมเข้ากับเขมร และลาว เรียกว่าสหพันธ์อินโดจีน (Indochinese Federation) ในปี 1893
ในช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสได้พัฒนา หลายสิ่ง ทั้งด้าน การศึกษา การเกษตร ระบบเมือง ระบบถนน การสาธารณสุข มีการส่งสินค้าการเกษตรมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับฝรั่งเศส
ในช่วงที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ก็ได้เริ่มมีบางกลุ่มที่เริ่มต่อต้าน และต้องการปกครองของฝรั่งเศส นั้นก็คือกลุ่มของโฮจิมินห์ (กลุ่มเวียดมินห์ Viet Minh)
6. กัมพูชา
ยุคก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก(ยุคโบราณ) ชื่อในอดีตมีชื่อที่รู้จักกันในอดีต คือ ชื่อ ขอม เขมร อาณาจักรเจนละ ถือเป็นอาณาจักแรกของเขมร ซึ่งได้รวบรวมและสร้างอย่างเป็นบึกแผ่นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1
ยุคที่ราชธานี เมืองหลวงอยู่ที่ นครวัด กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มีการสร้างปราสาทหินนครวัด (Angkor Wat) ในพุทธศตวรรษที่ 17 ช่วงนี้รับวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ในช่วงแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน) นครวัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลก ซึ่งต่อในช่วงต่อมาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกจาม(อาณาจักรในเวียดนาม) ยุคที่ราชธานี เมืองหลวง อยู่ที่นครธม กษัตริย์องค์สำคัญที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรได้อีกครั้งแล้วไปสร้างราชธานีใหม่ที่นครธม (Angkor Thom) มีการสร้างปราสาทบายนที่นครธม (เป็นศาสนาสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน) มีรูปพระพักตร์ พระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ภายในมีภาพชาวเขมร และภาพการต่อสู้กับพวกจาม ในตอนหลังก็อ่อนแอ่ลงทำให้รัฐทางเหนือ (คือสุโขทัย) ก่อตัวเข้มแข็งและตั้งรัฐเป็นอิสระได้ในเวลาต่อมา ยุคที่ราชธานี เมืองหลวง ย้ายมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ(เมืองหลวงของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) หลังจากที่การเสื่อมของนครธม ได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ(ปล่อยให้นครวัด และ นครธมร้างไป) ในช่วงนี้เป็นสมัยที่เขมรผลัดกันตกเป็นเมืองขึ้นของทั้ง ไทย และเวียดนาม ในช่วง (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 4 ) เขมรตกเป็นเมืองขึ้นของไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 (เขมรส่วนนอก/พื้นที่ตอนนอก ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) ในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 (เขมรส่วนใน/พื้นที่ตอนใน ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) สุดท้ายเขมรทั้งประเทศก็ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้ แล้วปลดผู้ปกครองกัมพูชาที่เป็นชาวฝรั่งเศสและผู้นิยมฝรั่งเศสออกไป เมื่อสงครามโลกครั่งที่ 2 ยุติลง (ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 2) กัมพูชาจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสมีภาระการต่อสู่ติดพันกับนักชาตินิยมในเวียดนาม จึงต้องหาทางประนีประนอมกับกัมพูชา โดยได้จัดทำสนธิสัญญาขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพจากการที่กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นมาเป็นรัฐในอารักขาแห่งเครือจักรภพของฝรั่งเศส ในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้เจ้าสีหนุเป็นกษัตริย์ปกครองกัมพูชา เมื่อญี่ปุ่นยึดกัมพูชาได้ จึงให้เจ้าสีหนุประกาศเอกราชเป็นอิสระจากฝรั่งเศส แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามามีอำนาจในกัมพูชาเหมือนเดิม ยุคหลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส
ขบวนการชาตินิยม ไม่ได้เกิดในการต่อต้านฝรั่งเศส แต่ต่อต้านญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เข้ามายึดครองกัมพูชา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ฝรั่งเศสจะพยายามเข้ามายึดครองอีก เจ้านโรดม สีหนุกษัตริย์กัมพูชา พยายามขอเอกราชจากฝรั่งเศสหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั้งฝรั่งเศสแพ้เวียดมินท์ ในการทำสงครามที่เบียนเดียนฟู จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ เวียดนาม ได้เอกราช จากอนิสงฆ์การชนะสงครามในครั้งนี้ทำให้ ลาวและ กัมพูชาพลอยได้เอกราชไปด้วย ในปี พ.ศ. 2490 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูนและจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเจ้าสีหนุประกาศยุบสภา ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำการปกครองกัมพูชาโดยตรงและได้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั่นที่ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ฝรั่งเศสจึงยอมให้เอกราชแก่กัมพูชาตามคำเรียกร้องของเจ้าสีหนุ ปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)กัมพูชา จึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อม ๆ กับลาว และเวียดนาม หลังได้รับเอกราช ก็มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดย เจ้านโรดม สีหนุ เป็นประมุข พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) นายพล ลอนนอล จะทำการปฏิวัติเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข(ไม่เอากษัตริย์) แล้วก่อตั้งเป็น “สาธารณรัฐกัมพูชา” พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นช่วงที่ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจ ซึ่งเรียกตัวเองว่า กลุ่มเขมรแดง นำโดย พอลพต และ เขียว สัมพัน เป็นช่วงที่ประชาชนมีความเดือดร้อนมาก มีการทำร้ายประชาชน และ มีการสู้รบตลอดเวลา ในช่วงนี้มีชาวเขมรตายไปจำนวนมาก กว่าล้านคน ตำนาน”ทุ่งสังหาร” (ค.ศ. 1975-1979) *
ขบวนการชาตินิยม ไม่ได้เกิดในการต่อต้านฝรั่งเศส แต่ต่อต้านญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เข้ามายึดครองกัมพูชา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ฝรั่งเศสจะพยายามเข้ามายึดครองอีก เจ้านโรดม สีหนุกษัตริย์กัมพูชา พยายามขอเอกราชจากฝรั่งเศสหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั้งฝรั่งเศสแพ้เวียดมินท์ ในการทำสงครามที่เบียนเดียนฟู จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ เวียดนาม ได้เอกราช จากอนิสงฆ์การชนะสงครามในครั้งนี้ทำให้ ลาวและ กัมพูชาพลอยได้เอกราชไปด้วย ในปี พ.ศ. 2490 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูนและจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเจ้าสีหนุประกาศยุบสภา ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำการปกครองกัมพูชาโดยตรงและได้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั่นที่ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ฝรั่งเศสจึงยอมให้เอกราชแก่กัมพูชาตามคำเรียกร้องของเจ้าสีหนุ ปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)กัมพูชา จึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อม ๆ กับลาว และเวียดนาม หลังได้รับเอกราช ก็มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดย เจ้านโรดม สีหนุ เป็นประมุข พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) นายพล ลอนนอล จะทำการปฏิวัติเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข(ไม่เอากษัตริย์) แล้วก่อตั้งเป็น “สาธารณรัฐกัมพูชา” พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นช่วงที่ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจ ซึ่งเรียกตัวเองว่า กลุ่มเขมรแดง นำโดย พอลพต และ เขียว สัมพัน เป็นช่วงที่ประชาชนมีความเดือดร้อนมาก มีการทำร้ายประชาชน และ มีการสู้รบตลอดเวลา ในช่วงนี้มีชาวเขมรตายไปจำนวนมาก กว่าล้านคน ตำนาน”ทุ่งสังหาร” (ค.ศ. 1975-1979) *
7. ฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
นักมนุษยวิทยามีหลักฐานว่า มนุษย์โบราณ homo sapiens ได้มีขึ้นในบริเวณ Palawanมานานอย่างน้อย 50,000 ปี และคนเหล่านี้เรียกว่า Tabon Man
หลายพันปีต่อมา ได้มีการเคลื่อนย้ายคนที่มีเชื้อสายลูกประสมออสเตรเลียชาวเกาะ (Austronesian) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน นอกจากนี้คือคนที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย (Indonesia) และผ่านทางจีนตอนใต้ ไต้หวัน และพ่อค้าชนกลุ่มน้อยของจีน ซึ่งได้มาถึงจีนในราวๆคริสตศตวรรษที่ 8
การเดินทางมาของนักสำรวจชาวปอร์ตุเกส ชื่อ เฟอร์ดินาน แมเกลแลน (Ferdinand Magellan) ซึ่งได้ไปรับทางานสำรวจให้กับสเปน ในช่วงปี ค.ศ. 1521 นับเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกได้เข้ามารู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังจากที่พยายามเปลี่ยนคนพื้นเมืองไปนับถือศาสนาคริสต์ได้ทำให้เกิดขัดแย้งกับหัวหน้าเผ่าพื้นเมืองคนหนึ่งชื่อ Lapu-lapu ในการสู้รบนั้นกลุ่มนักเดินทางสำรวจ พ่ายแพ้ และ Magellan ถูกฆ่าตาย แต่มีเรือของเขาสามารถกลับไปยังสเปนได้ ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1565 ได้มีการจัดตั้งชุมชนสเปนแรกในหมู่เกาะนี้
การเดินทางมาของนักบวชคริสตศาสนาในนิกายต่างๆ ได้แก่ Augustinians และ Franciscans,ตามมาด้วยพวก Jesuits, Dominicans, และ Recollects นักบวชเหล่านี้มาพร้อมกองทหารไปยังเกาะต่างๆ เพื่อค้นหาชาวพื้นเมืองและหมู่บ้านต่างๆ หลังจากนั้นไม่นานพวกสเปนก็จัดตั้งโบสถ์และค่ายทหาร และแสวงหาทรัพยากรมีค่า เช่น ทองคำ และเครื่องเทศ นิกายโรมันแคธอลิกได้กลายเป็นศาสนากระแสหลักของฟิลิปปินส์
ในระหว่างนั้นได้มีการต่อสู้เกิดขึ้นระหว่างพวกชนเผ่าชาวที่สูงของ Luzon และชนเผ่าบริเวณชายผั่ง พวกมุสลิมได้ต่อต้านการมาของชาวยุโรปอย่างเหนี่ยวแน่นในเกาะแถบมินดาเนา (Mindanao) ในช่วงนี้พวกสเปนต้องคอยต่อสู้กับโจรสลัดชาวจีน กองกำลังของญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ดัช และอังกฤษ และกลุ่มประเทศเหล่านี้สนใจในการมีผลประโยชน์ในฟิลิปปินส์เช่นกัน
นักมนุษยวิทยามีหลักฐานว่า มนุษย์โบราณ homo sapiens ได้มีขึ้นในบริเวณ Palawanมานานอย่างน้อย 50,000 ปี และคนเหล่านี้เรียกว่า Tabon Man
หลายพันปีต่อมา ได้มีการเคลื่อนย้ายคนที่มีเชื้อสายลูกประสมออสเตรเลียชาวเกาะ (Austronesian) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน นอกจากนี้คือคนที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย (Indonesia) และผ่านทางจีนตอนใต้ ไต้หวัน และพ่อค้าชนกลุ่มน้อยของจีน ซึ่งได้มาถึงจีนในราวๆคริสตศตวรรษที่ 8
การเดินทางมาของนักสำรวจชาวปอร์ตุเกส ชื่อ เฟอร์ดินาน แมเกลแลน (Ferdinand Magellan) ซึ่งได้ไปรับทางานสำรวจให้กับสเปน ในช่วงปี ค.ศ. 1521 นับเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกได้เข้ามารู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังจากที่พยายามเปลี่ยนคนพื้นเมืองไปนับถือศาสนาคริสต์ได้ทำให้เกิดขัดแย้งกับหัวหน้าเผ่าพื้นเมืองคนหนึ่งชื่อ Lapu-lapu ในการสู้รบนั้นกลุ่มนักเดินทางสำรวจ พ่ายแพ้ และ Magellan ถูกฆ่าตาย แต่มีเรือของเขาสามารถกลับไปยังสเปนได้ ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1565 ได้มีการจัดตั้งชุมชนสเปนแรกในหมู่เกาะนี้
การเดินทางมาของนักบวชคริสตศาสนาในนิกายต่างๆ ได้แก่ Augustinians และ Franciscans,ตามมาด้วยพวก Jesuits, Dominicans, และ Recollects นักบวชเหล่านี้มาพร้อมกองทหารไปยังเกาะต่างๆ เพื่อค้นหาชาวพื้นเมืองและหมู่บ้านต่างๆ หลังจากนั้นไม่นานพวกสเปนก็จัดตั้งโบสถ์และค่ายทหาร และแสวงหาทรัพยากรมีค่า เช่น ทองคำ และเครื่องเทศ นิกายโรมันแคธอลิกได้กลายเป็นศาสนากระแสหลักของฟิลิปปินส์
ในระหว่างนั้นได้มีการต่อสู้เกิดขึ้นระหว่างพวกชนเผ่าชาวที่สูงของ Luzon และชนเผ่าบริเวณชายผั่ง พวกมุสลิมได้ต่อต้านการมาของชาวยุโรปอย่างเหนี่ยวแน่นในเกาะแถบมินดาเนา (Mindanao) ในช่วงนี้พวกสเปนต้องคอยต่อสู้กับโจรสลัดชาวจีน กองกำลังของญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ดัช และอังกฤษ และกลุ่มประเทศเหล่านี้สนใจในการมีผลประโยชน์ในฟิลิปปินส์เช่นกัน
8. อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาส ประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506
9. มาเลเซีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น