หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

- ประเทศสมาชิกอาเซียน


ประเทศสมาชิกอาเซียน    
(ASEAN Member States)
 
800px-flag_of_asean_svg



flag-brunei-darussalam
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn



flag-cambodia
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh



flag-indonesia
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id



flag-lao_pdr
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la



flag-malaysia
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my

 


flag-myanmar
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm



flag-philippines
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph



flag_singapore
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg



flag-thailand
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th



flag-vietnam
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn



http://203.172.142.8/en/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

- ประวัติความเป็นมาของอาเซียน



ประวัติความเป็นมาของอาเซียน
 The history of ASEAN



สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จน กระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่ง ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
ความ ประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภาย นอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้าง ประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความ ศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

(
ที่มา: http://th.wikipedia.org)

1. ลาว
        
                    

             นับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณหุบเขาอันมีสายน้ำสำคัญสามสาย คือ น้ำโขง น้ำคาน และน้ำอู แห่งนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาเก่าก่อน มีการขุดพบกลองมโหระทึกหรือกลองกบในบริเวณริมน้ำดงทางใต้ของเมือง อันแสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งค้นพบในแถบเวียดนามเหนือ

          ลาวเป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวประกอบด้วยชมกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงบนที่ราบ ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา

           ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 – 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไตได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท- กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีน แรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน ต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆ ทั้งไท พม่า และเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านแปงเมืองก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร


2. ไทย
 
 

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาก โดยมีความสืบเนื่องและคาบเกี่ยวระหว่างอาณาจักรโบราณหลายแห่ง เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ เขมร ฯลฯ โดยเริ่มมีความชัดเจนในอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือ กระทั่งเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 แล้วความรุ่งเรืองได้ปรากฏขึ้นในอาณาจักรทางใต้ ณ กรุงศรีอยุธยา โดยยังมีอาณาเขตที่ไม่แน่ชัด ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินจึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
               ภายหลังสิ้นสุดอำนาจและมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 อาณาจักรสยามเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้าง ครั้นในรัชกาลที่ 5 ได้ผนวกดินแดนของเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนาส่วนล่าง (ส่วนบนอยู่บริเวณเชียงตุง) เป็นการรวบรวมดินแดนครั้งใหญ่ครั้งสุดท้าย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ก็ต้องรออีกถึง 41 ปี กว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549 
 ชื่อประเทศไทย
               คำว่า ไทย มีความหมายในภาษาไทยว่า อิสระ เสรีภาพ เดิมประเทศไทยใช้ชื่อ สยาม แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2482 ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า "ไทย" โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อภาษาฝรั่งเศส[1]และอังกฤษคงยังเป็น "Siam" อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น "Thaïlande" และภาษาอังกฤษเป็น "Thailand" อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

3. สิงคโปร์









       
             ประเทศสิงคโปร์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในศตวรรษที่ 3 ของชาวจีนในชื่อ พู เลา ชุงซึ่งแปลว่า เกาะปลายคาบสมุทรโดยในช่วงนั้นยังไม่มีใครทราบประวัติของเกาะแห่งนี้มากนัก ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยและรู้จักกันในชื่อ เทมาเซ็คซึ่งแปลว่าเมืองแห่งทะเลสิงคโปร์ตั้งอยู่ตรงปลายแหลมมลายูซึ่งเป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติของเส้นทางเดินเรือ สิงคโปร์จึงกลายเป็นจุดพักของเรือเดินสมุทรหลายประเภท ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ก็ได้ชื่อใหม่คือ สิงหปุระซึ่งแปลว่า เมืองสิงโต ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายแห่งศรีวิชัยมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่งแต่เข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต ชื่อปัจจุบันของสิงคโปร์จึงถือกำเนิดขึ้น ระหว่างศตวรรษที่ 18 นั้นอังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของสิงคโปร์ทางยุทธศาสตร์สำหรับซ่อม,เติมเสบียงและคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบใหญ่ของตนรวมถึงการขัดขวางการรุกคืบของชาวฮอลแลนด์ในภูมิภาคนี้ ตรงกันข้ามกับเบื้องหลังทางการเมืองที่กล่าวมา เซอร์สแตมฟอร์ด แรฟเฟิล กลับตั้งสิงคโปร์ให้เป็นสถานีการค้า นโยบายการค้าเสรีดึงดูดพ่อค้าจากทั่วทุกส่วนของเอเชียและจากที่ห่างไกลออกไป เช่น สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง ในปี ค.ศ.1824 เพียงแค่ห้าปีหลังจากตั้งประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน ประชากรก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 150 คนจนกลายเป็น 10,000 คน ในปี 1832 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถิ่นฐานช่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดคลองซุเอซในปี 1869 และการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก สิงคโปร์เคยเป็นที่ทำสงครามในศตวรรษที่ 14 เมื่อเข้าเกี่ยวพันกับการแย่งชิงแหลมมลายูระหว่างประเทศสยามกับจักรวรรดิมัชปาหิตบนเกาะชวา อีกห้าศตวรรษถัดมา ที่นี่ก็เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้นอีกครั้ง ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเคยถือกันว่าสิงคโปร์เป็นป้อมปราการที่ไม่มีวันแตกแต่แล้วกองทัพญี่ปุ่นก็สามารถยึดครองเกาะแห่งนี้ได้ในปี 1942 หลังสงคราม สิงคโปร์ก็กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ การเติบโตของลัทธิชาตินิยมทำให้สิงคโปร์มีรัฐบาลปกครองตนเองในปี 1959 แล้ววันที่ 9 สิงหาคม 1965 สิงคโปร์ก็กลายเป็นสาธารณรัฐอิสระ 



4. บรูไน
           
                บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ  หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
            
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ

            
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา

            
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
           
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)

5. เวียดนาม


ยุคก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก
ยุคที่อยู่ใต้อิทธิพลของจีน (ก่อน ค.ศ. 111- ค.ศ 938) ช่วงนี้ราชวงศ์ฮั่นบุกอาณาจักนามเวียดและผนวกเอาเป็นส่วนหนึ่งของจีน ช่วงนี้เวียดนามอยู่ใต้อิทธิพลของจีนนานถึง 1000 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ได้อิทธิพลและรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากจีน
· อาณาจักรแรกของชาวเวียดนาม คืออาณาจักร นามเวียด (อาณาจักรทางตอนเหนือ) เป็นเป็นเมืองขึ้นของจีนมานาน ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่เดี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ แม้ต่อมาอาณาจักรนามเวียดจะเป็นอิสระแต่ก็ยังคงส่งเครื่องบรรณาการส่งให้จีน (จีนถือว่านามเวียดเป็นเมืองประเทศราช)
· ทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศเวียดนามในอดีตเป็นที่ตั้งของอาราจักรจามปา(พวกจาม ซึ่งปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม)
ช่วงที่เป็นเอกราชจากจีน (ค.ศ. 938-1009) ช่วงนี้เป็นช่วงต้นราชวงศ์ถังซึ่งภายในจีนมีความวุ่นวายภายในเวียดนามก็สถาปนาราชวงศ์เล(Le Dynasty)

ช่วงยุคทองของประวัติศาสตร์เวียดนาม (ค.ศ. 1010 -1527)
เมื่ออาณาจักรนามเวียดทางตอนเหนือสามารถยึดพวกจามได้ทำให้อาณาจักรกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์เล เป็นช่วงที่มีการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างสำคัญมากมายมีการส่งเสริมพุทธศาสนากับลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋าด้วยและได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ กรุงฮานอย

ยุคแห่งการแบ่งแยก (ค.ศ. 1528-1802)
อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เหนือ-ใต้ เมื่อราชวงส์เลเสื่อมอำนาจทำให้อาณาจักแบ่งออกเป็นสามส่วน
· ตอนเหนือ แคว้นตังเกี่ย ศูนย์กลางที่กรุงฮานอย มีตระกูลแม็ค ปกครอง
· ตอนกลาง แคว้นอันนัม ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเตย์โด มีตระกูลตรินห์ ปกครอง
· ตอนใต้ แคว้นโคชินไชนา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเว้ มีตระกูล เหงียน ปกครอง
ต่อมาตระกูลตรินห์ยึดแคว้นตั๋งเกี๋ยได้ ซึ่งทำให้เหลือ 2 แคว้น ต่อมาเจ้าชายเหงียนอันห์ แห่งราชวงศ์เหงียนทำการรวมประเทศ เป็นประเทศเวียดนาม (ค.ศ.1802 จึงเรียกชื่อประเทศว่าเวียดนาม)โดยความช่วยเหลือจากไทย(สมัย ร.1) และฝรั่งเศส และสถาปนาราชวงศ์ยาลอง เป็นจักรพรรดิยาลอง

จักรพรรดิยาลอง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝรั่งเศสมาก และฝรั่งเศสได้เข้ามาช่วยเหลือในการรวมประเทศผลสุดท้ายฝรั่งเศสก็เข้ามาแทรกแซงภายในประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จน ต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส

ราชวงศ์เหงียน(เหวียน) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม นับตั้งแต่กษัตริย์ยาลองจนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายคือเบ๋าได่(Bao Dai) รวม 143 ปี (ปี ค.ศ. 1945 เป็นปีที่สิ้นสุดระบบกษัตริย์ของเวียดนาม)

เวียดนามแต่เดิมมีการปกครองแบบราชาธิปไตย(มีกษัตริย์) แบบรวมอำนาจการปกครอง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมาไม่ต่ำกว่า 4000 ปี เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน มากว่า 1000 ปี มีการดิ้นรนต่อสู้ให้พ้นจากการยึดครองของจีนตลอดมา

ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในเวียดนามในช่วง ศตวรรษที่ 1600 โดยเข้ามาทำการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส และชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexandre de Rhodes ได้เข้ามาพัฒนาภาษาเวียดนามที่เดิมใช้ตัวอักษรจีน มาใช้ตัวอักษรโรมันแทน (โดยพัฒนาต่อจากมิชชั่นนารีชาวโปรตุเกสที่เริ่มไว้ก่อหน้า) และในสมัยราชวงศ์เหงียนจึงมีข้อขัดแย้งกันทางศาสนาซึ่งเดิมชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ ขงจื้อ ในช่วงปี ค.ศ. 1859-1867 ฝรั่งเศสได้เริ่มยึดครองเวียดนาม

ในสมัยราชวงศ์เหงียน เวียดนามถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2427 ทำให้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ภาคเหนือเป็นแคว้นตังเกี๋ย ภาคกลางเป็นแคว้นอันนัม และภาคใต้เป็นแคว้นโคชินไชนา (โคชินจีน) และถูกรวมเข้ากับเขมร และลาว เรียกว่าสหพันธ์อินโดจีน (Indochinese Federation) ในปี 1893

ในช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสได้พัฒนา หลายสิ่ง ทั้งด้าน การศึกษา การเกษตร ระบบเมือง ระบบถนน การสาธารณสุข มีการส่งสินค้าการเกษตรมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับฝรั่งเศส

ในช่วงที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ก็ได้เริ่มมีบางกลุ่มที่เริ่มต่อต้าน และต้องการปกครองของฝรั่งเศส นั้นก็คือกลุ่มของโฮจิมินห์ (กลุ่มเวียดมินห์ Viet Minh)

6. กัมพูชา
              
ยุคก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก(ยุคโบราณ) ชื่อในอดีตมีชื่อที่รู้จักกันในอดีต คือ ชื่อ ขอม เขมร อาณาจักรเจนละ ถือเป็นอาณาจักแรกของเขมร ซึ่งได้รวบรวมและสร้างอย่างเป็นบึกแผ่นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่

ยุคที่ราชธานี เมืองหลวงอยู่ที่ นครวัด กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มีการสร้างปราสาทหินนครวัด (Angkor Wat) ในพุทธศตวรรษที่ 17 ช่วงนี้รับวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ในช่วงแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน) นครวัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลก ซึ่งต่อในช่วงต่อมาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกจาม(อาณาจักรในเวียดนาม) ยุคที่ราชธานี เมืองหลวง อยู่ที่นครธม กษัตริย์องค์สำคัญที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรได้อีกครั้งแล้วไปสร้างราชธานีใหม่ที่นครธม (Angkor Thom) มีการสร้างปราสาทบายนที่นครธม (เป็นศาสนาสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน) มีรูปพระพักตร์ พระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ภายในมีภาพชาวเขมร และภาพการต่อสู้กับพวกจาม ในตอนหลังก็อ่อนแอ่ลงทำให้รัฐทางเหนือ (คือสุโขทัย) ก่อตัวเข้มแข็งและตั้งรัฐเป็นอิสระได้ในเวลาต่อมา ยุคที่ราชธานี เมืองหลวง ย้ายมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ(เมืองหลวงของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) หลังจากที่การเสื่อมของนครธม ได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ(ปล่อยให้นครวัด และ นครธมร้างไป) ในช่วงนี้เป็นสมัยที่เขมรผลัดกันตกเป็นเมืองขึ้นของทั้ง ไทย และเวียดนาม ในช่วง (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 4 ) เขมรตกเป็นเมืองขึ้นของไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 (เขมรส่วนนอก/พื้นที่ตอนนอก ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) ในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 (เขมรส่วนใน/พื้นที่ตอนใน ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) สุดท้ายเขมรทั้งประเทศก็ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้ แล้วปลดผู้ปกครองกัมพูชาที่เป็นชาวฝรั่งเศสและผู้นิยมฝรั่งเศสออกไป เมื่อสงครามโลกครั่งที่ 2 ยุติลง (ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 2) กัมพูชาจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสมีภาระการต่อสู่ติดพันกับนักชาตินิยมในเวียดนาม จึงต้องหาทางประนีประนอมกับกัมพูชา โดยได้จัดทำสนธิสัญญาขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพจากการที่กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นมาเป็นรัฐในอารักขาแห่งเครือจักรภพของฝรั่งเศส ในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้เจ้าสีหนุเป็นกษัตริย์ปกครองกัมพูชา เมื่อญี่ปุ่นยึดกัมพูชาได้ จึงให้เจ้าสีหนุประกาศเอกราชเป็นอิสระจากฝรั่งเศส แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามามีอำนาจในกัมพูชาเหมือนเดิม ยุคหลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส
ขบวนการชาตินิยม ไม่ได้เกิดในการต่อต้านฝรั่งเศส แต่ต่อต้านญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เข้ามายึดครองกัมพูชา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ฝรั่งเศสจะพยายามเข้ามายึดครองอีก เจ้านโรดม สีหนุกษัตริย์กัมพูชา พยายามขอเอกราชจากฝรั่งเศสหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั้งฝรั่งเศสแพ้เวียดมินท์ ในการทำสงครามที่เบียนเดียนฟู จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ เวียดนาม ได้เอกราช จากอนิสงฆ์การชนะสงครามในครั้งนี้ทำให้ ลาวและ กัมพูชาพลอยได้เอกราชไปด้วย ในปี พ.ศ. 2490 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูนและจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเจ้าสีหนุประกาศยุบสภา ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำการปกครองกัมพูชาโดยตรงและได้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั่นที่ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ฝรั่งเศสจึงยอมให้เอกราชแก่กัมพูชาตามคำเรียกร้องของเจ้าสีหนุ ปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)กัมพูชา จึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อม ๆ กับลาว และเวียดนาม หลังได้รับเอกราช ก็มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดย เจ้านโรดม สีหนุ เป็นประมุข พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) นายพล ลอนนอล จะทำการปฏิวัติเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข(ไม่เอากษัตริย์) แล้วก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐกัมพูชาพ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นช่วงที่ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจ ซึ่งเรียกตัวเองว่า กลุ่มเขมรแดง นำโดย พอลพต และ เขียว สัมพัน เป็นช่วงที่ประชาชนมีความเดือดร้อนมาก มีการทำร้ายประชาชน และ มีการสู้รบตลอดเวลา ในช่วงนี้มีชาวเขมรตายไปจำนวนมาก กว่าล้านคน ตำนานทุ่งสังหาร” (ค.ศ. 1975-1979) *


7. ฟิลิปปินส์



ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

นักมนุษยวิทยามีหลักฐานว่า มนุษย์โบราณ homo sapiens ได้มีขึ้นในบริเวณ Palawanมานานอย่างน้อย 50,000 ปี และคนเหล่านี้เรียกว่า Tabon Man
หลายพันปีต่อมา ได้มีการเคลื่อนย้ายคนที่มีเชื้อสายลูกประสมออสเตรเลียชาวเกาะ (Austronesian) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน นอกจากนี้คือคนที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย (Indonesia) และผ่านทางจีนตอนใต้ ไต้หวัน และพ่อค้าชนกลุ่มน้อยของจีน ซึ่งได้มาถึงจีนในราวๆคริสตศตวรรษที่ 8
การเดินทางมาของนักสำรวจชาวปอร์ตุเกส ชื่อ เฟอร์ดินาน แมเกลแลน (Ferdinand Magellan) ซึ่งได้ไปรับทางานสำรวจให้กับสเปน ในช่วงปี ค.ศ. 1521 นับเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกได้เข้ามารู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังจากที่พยายามเปลี่ยนคนพื้นเมืองไปนับถือศาสนาคริสต์ได้ทำให้เกิดขัดแย้งกับหัวหน้าเผ่าพื้นเมืองคนหนึ่งชื่อ Lapu-lapu ในการสู้รบนั้นกลุ่มนักเดินทางสำรวจ พ่ายแพ้ และ Magellan ถูกฆ่าตาย แต่มีเรือของเขาสามารถกลับไปยังสเปนได้ ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1565 ได้มีการจัดตั้งชุมชนสเปนแรกในหมู่เกาะนี้
การเดินทางมาของนักบวชคริสตศาสนาในนิกายต่างๆ ได้แก่ Augustinians และ Franciscans,ตามมาด้วยพวก Jesuits, Dominicans, และ Recollects นักบวชเหล่านี้มาพร้อมกองทหารไปยังเกาะต่างๆ เพื่อค้นหาชาวพื้นเมืองและหมู่บ้านต่างๆ หลังจากนั้นไม่นานพวกสเปนก็จัดตั้งโบสถ์และค่ายทหาร และแสวงหาทรัพยากรมีค่า เช่น ทองคำ และเครื่องเทศ นิกายโรมันแคธอลิกได้กลายเป็นศาสนากระแสหลักของฟิลิปปินส์

ในระหว่างนั้นได้มีการต่อสู้เกิดขึ้นระหว่างพวกชนเผ่าชาวที่สูงของ Luzon และชนเผ่าบริเวณชายผั่ง พวกมุสลิมได้ต่อต้านการมาของชาวยุโรปอย่างเหนี่ยวแน่นในเกาะแถบมินดาเนา (Mindanao) ในช่วงนี้พวกสเปนต้องคอยต่อสู้กับโจรสลัดชาวจีน กองกำลังของญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ดัช และอังกฤษ และกลุ่มประเทศเหล่านี้สนใจในการมีผลประโยชน์ในฟิลิปปินส์เช่นกัน 



8. อินโดนีเซีย

 

   อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

                เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาส ประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

                  ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506


9. มาเลเซีย
 

คำว่ามาเลเซียเคยถูกใช้เรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน

ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

ประวัติศาสตร์ 

ปรากฏความสัมพันธ์อย่างแน่นเฟ้นระหว่างหลายชนเผ่าพันธุ์และหลายวัฒนธรรมของประเทศ นอกจากชาวมาเลย์และ กลุ่มชนพื้นเมืองแล้ว ยังมีผู้อพยพมาจากจีน อินเดีย อินโดนีเซียและส่วนอื่นของโลก ซึ่งรวมเข้าเป็นพลเมืองของมาเลเซีย ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่าง น่า สนใจ อาจเนื่องมาจากการติดต่อสัมพันธ์นานปี กับภายนอกและการปกครองโดย ชาวโปรตุเกส ดัทช์ และ อังกฤษ ผลที่เกิดตามมาคือการวิวัฒน์ของประเทศจนเปลี่ยนรูปของวัฒนธรรมดังจะได้เห็น การผสมผสานได้อย่างวิเศษของ ศาสนา กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งกาย ภาษาและอาหาร ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี ค.ศ.1957เป็นสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาเมื่อรวมรัฐซาบาห์ และ รัฐซาราวัดเข้าด้วยแล้ว ประเทศมาเลเซียจึงได้ถือกำเนิดขึ้น


10. พม่า

 
 

ประเทศพม่า (อังกฤษ: Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmarเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด มีพรมแดนทางทิศเหนือติดต่อกับจีน ทางทิศตะวันตกติดต่อกับอินเดียและบังกลาเทศ ทางทิศตะวันออกติดต่อกับลาวและไทยและทางทิศใต้จรดทะเลอันดามัน ยกเว้นทางฝั่งตะวันตกซึ่งอาจจรดมหาสมุทรอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า หรือ เมียนมา ส่วนในประเทศไทยจะสะกดว่า เมียนมาร์